เมนู

ศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้. บทว่า สุสฺสูสนฺติ ความว่า มีใจแช่มชื่นตั้งใจ
ฟังอย่างดี เพราะมีอักษรวิจิตร และสมบูรณ์ด้วยบท. บทว่า น เจว
อญฺญมญฺญํ ปฏิปุจฺฉนฺติ
ความว่า มิได้ถามเนื้อความ อนุสนธิ หรือ
เบื้องต้นเบื้องปลายกัน และกัน. บทว่า น ปฏิวิจรนฺติ ความว่า มิได้
เที่ยวไปไต่ถาม. บทว่า อิทํ กถํ ความว่า พยัญชนะนี้ พึงเข้าใจอย่างไร
คือพึงเข้าใจว่าอย่างไร. บทว่า อิมสฺส กฺวตฺโถ ความว่า ภาษิตนี้มีเนื้อ
ความอย่างไร มีอนุสนธิอย่างไร มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอย่างไร บทว่า
อวิวฏํ ได้แก่ ที่ยังปกปิด. บทว่า น วิรรนฺติ ได้แก่ไม่เปิดเผย บทว่า
อนุตฺตานีกตํ ได้แก่ที่ไม่ปรากฏ. บทว่า น อุตฺตานีกโรนฺติ ความว่า
มิได้ทำให้ปรากฏ. บทว่า กงฺขาฏฺฐานีเยสุ ได้แก่ อันเป็นเหตุแห่งความ
สงสัย. ฝ่ายขาว ก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ 6

สูตรที่ 7



ว่าด้วยบริษัททมี่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม และบริษัทที่หนัก

ในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส



[293] 47. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบริษัท 2 จำพวกนี้ 2 จำพวก
เป็นไฉน คือบริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม 1 บริษัทที่หนัก
ในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนัก
ในอามิส ไม่หนักในสัทธรรมเป็นไฉน ภิกษุบริษัทใดในธรรมวินัยนี้
ต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวว่า ภิกษุ
รูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี